• March 30, 2024

ทำความรู้จัก แลนด์บริดจ์ มหาเมกะโปรเจกต์งบลงทุน 1 ล้านล้านบาท

ทำความรู้จัก แลนด์บริดจ์(LandBridge)

โครงการแลนด์บริดจ์ แม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจริงหรือ?

เศรษฐกิจไทยเหมือนนักกีฬาสูงวัย วิ่งช้าลง และ เติบโตต่ำกว่าศักยภาพ

แลนด์บริดจ์ (LandBridge) คือ การพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดยุทธศาสตร์ของไทยที่เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ากับมหาสุทรอินเดีย เพื่อให้แลนด์บริดจ์ กลายเป็นศูนย์กลางการผลิต การคมนาคมขนส่งของเอเชีย

ทำไมประเทศไทยต้องทำแลนด์บริดจ์ (LandBridge)?คำพูดจาก ว็บสล็อตต่างประเทศ

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บอกไว้วว่า ปัจจุบันจุดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียต้องนำเข้าหรือส่งออกโดยใช้ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์)

หรือเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือประเทศสิงคโปร์หรือมาเลเซีย เป็นเส้นทางที่อ้อมระยะทางไกล

ซึ่งช่องแคบมะละกามีปริมาณเรือที่ผ่านหนาแน่นคับคั่ง ประมาณเกือบ 100,000 ลำต่อปี ส่วนใหญ่จะเป็นเรือขนส่งพลังงาน แต่ในปัจจุบันมีปริมาณเรือสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยมีปริมาณตู้สินค้ากว่า 60 ล้าน TEU หรือจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของปริมาณสินค้าที่ค้าขายทั่วโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าการขนส่งสินค้าทางเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกาจะเต็มศักยภาพ ที่สามารถรองรับ ได้ในปี พ.ศ. 2567

ขณะที่ “ประเทศไทย” ตั้งอยู่บนศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน มีชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทร 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทย ด้านตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ฝั่งอันดามันด้านตะวันตกติดกับมหาสมุทรอินเดีย

จึงมีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

แนวคิดเชื่อมทะเลสองฝั่งนั้นมีมายาวนาน

มีหลักฐานปรากฎตั้งแต่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กับโครงการ ‘คลองคอดกระ’ ที่บริเวณอำเภอกระบุรี เชื่อมทะเลฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือในการรบกับพม่า แต่ในเวลานั้นไม่มีการดำเนินการขุดคลองอย่างจริงจัง และได้ยุบไปในช่วงรัชกาลที่ 4 เนื่องจากต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก หลังจากนั้นมีอีกหลายครั้งที่เกิดความพยายามในหลายรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยที่ต้องการเชื่อมทะเลทั้งสองฝั่งเข้าไว้ด้วยกัน

จนเกิดเป็นโครงการในยุครัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนโยบายผลักดัน ‘ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้’ หรือ ‘SEC’ (Southern Economic Corridor) โดยผ่าน คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อพ.ศ. 2564 จากนั้นจึงมีการผลักดัน ‘โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการ เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย และอันดามันของประเทศไทย’ ในปี 2565 หรือที่รู้จักกันในชื่อ โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’(LandBridge)

พรรคเพื่อไทย รัฐบาลเศรษฐา สานต่องานรัฐบาลประยุทธ์

ในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จนถึงช่วงรอยต่อของรัฐบาลถัดไป มีหลายพรรคประกาศหาเสียงด้วยการผลักดันนโยบายแลนด์บริดจ์ต่อ ไม่ว่าจะเป็น พรรคไทยสร้างไทย และ พรรคภูมิใจไทย จนเมื่อเกิดการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แม้ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีโครงการแลนด์บริดจ์ในการหาเสียงแต่อย่างใด แต่เป็นนโยบายพรรคร่วมรัฐบาล คือพรรคภูมิใจไทย เรียกร้องให้สานต่อโครงการแลนด์บริดจ์ ภายใต้การศึกษาของ สนข.ให้แล้วเสร็จ ในช่วงที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ต่อมา ในเดือน ต.ค. 2566 ครม.มีมติรับทราบโครงการ รวมไปถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มโรดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์ระหว่างการเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก เพื่อจูงใจนักลงทุนต่างประเทศ

เปิดข้อกังวลโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’(LandBridge) จากเสียงของประชาชน

หลังจากการเริ่มโรดโชว์ของรัฐบาลเศรษฐาไม่นาน เสียงคัดค้านจากคนในพื้นที่ก็ได้ปะทุขึ้น สภาประชาชนภาคใต้ และภาคีเครือข่าย ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่อง "หยุดแลนด์บริดจ์ ระนอง – ชุมพร" ยืนยันจะร่วมกันคัดค้านโครงการ เนื่องจากกระทบประชาชน คนในพื้นที่มีความกังลถึงผลกระทบ คือ

  • ผลกระทบต่อประชาชนในพื้น การเวนคืนที่ดิน ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน อาจทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องเปลี่ยนอาชีพ เกิดความไม่แน่นอนในรายได้ขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ขณะที่จังหวัดชุมพรและระนองเป็นจังหวัดที่อัตราการว่างงานต่ำที่สุดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ทั้งยังมีสัดส่วนคนจนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคถึงครึ่งหนึ่ง การพัฒนาโครงการฯ จึงอาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ได้
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่อนุรักษ์ อีกทั้งมีความท้าทายในการลงทุนสูง โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อท่าเรือ เพราะบทบาทของท่าเรือสําคัญกว่าเส้นทางคมนาคม ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งงบลงทุนในโครงการนี้กว่า 2 ใน 3 เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางทางบก ที่มีบทบาทรองจากเส้นทางน้ำ จึงมองว่าควรปรับลดงบในส่วนนี้ลงจะทำให้โครงการมีความเหมาะสมมากขึ้น

และประเด็นสุดท้ายที่น่ากังวลไม่แพ้กัน ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าการสร้างแลนด์บริดจ์ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์มีความเป็นไปได้ด้านเศรษฐศาตร์แต่อย่างใด

รัฐบาลยืนยันยังคงเดินหน้าต่อ

เมื่อ 22 ม.ค. 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงพื้นที่ติดตามโครงการแลนด์บริดจ์ โดยนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ลงพื้น ทั้งนี้ในการริเริ่มโครงการใหญ่ ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับฟังความเห็น และชี้แจงประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีโครงการใหญ่ เมกะโปรเจกต์เลย โดยในช่วงอดีตนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ มีโครงการขนาดใหญ่ที่สำเร็จและสร้างประโยชน์ให้ประเทศมหาศาล คือสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศทำให้ไทยพัฒนาถึงทุกวันนี้ได้

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียืนยันว่าในการทำเมกะโปรเจกต์นี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดในทุกมิติควบคู่กันไป

โครงการ LandBridge จะช่วยเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่นานาชาติ และกระจายความเจริญสู่ภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผลกระทบน้อยที่สุดในทุก ๆ มิติ ควรให้มีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้เกิดขึ้นได้จริง

ที่มา :

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

รายงานฉบับสมบรูณ์ "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย" จัดทำโดย สศช.

เปิดคะแนนฟีฟ่า ทีมชาติไทย หลังเสมอ ซาอุดีอาระเบีย ศึกเอเชียน คัพ

เปิดโปรแกรมรอบ 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023

"ตรุษจีน 2567" เปิด 10 แซ่จีน ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนใช้มากที่สุด